ชื่อเป็นเหตุ! อินโดนีเซียแบน “X” เพราะชื่อโดเมนซ้ำเว็บอนาจาร-การพนัน
ทวิตเตอร์ที่ถูกรีแบรนด์ใหม่เป็น ”X” ภายใต้นโยบายของ อีลอน มัสก์ ที่ต้องการสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นทุกอย่างแบบเดียวกับ WeChat ในจีน แต่ล่าสุดเจอกับอุปสรรคในบางประเทศแล้ว ซึ่งสาเหตุก็ไม่ใช่อะไรแต่มาจากชื่อ X นั่นเอง
ทางการอินโดนีเซียได้ทำการบล็อกเว็บไซต์ X.com ซึ่งเชื่อมไปยังทวิตเตอร์ ภายใต้กฎหมายการควบคุมสื่อลามกและการพนันออนไลน์ โดยกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศอินโดนีเซียกล่าวว่า X ถูกจำกัดเนื่องจากโดเมนนี้เคยถูกใช้โดยเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเชิงลบ เช่น ภาพอนาจารและการพนัน
นักวิเคราะห์ชี้ ทวิตเตอร์เปลี่ยนโลโก้เป็น “X” ไม่ส่งผลดี
โลโก้ “X” มาแล้ว! อีลอน มัสก์ เอาจริงรีแบรนด์ทวิตเตอร์
อุสมาน คานซอง ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลและการสื่อสารสาธารณะของกระทรวงฯ กล่าวว่า รัฐบาลได้ติดต่อกับ X เพื่อชี้แจงลักษณะของเว็บไซต์ “ก่อนหน้านี้เราได้พูดคุยกับตัวแทนจากทวิตเตอร์และพวกเขาจะส่งจดหมายถึงเราเพื่อทำเรื่องแจ้งว่า ทวิตเตอร์จะใช้โดเมน X.com”
การบล็อกครั้งนี้ทำให้ชาวอินโดนีเซียไม่สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ชั่วคราวในขณะนี้ โดยอินโดนีเซียมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ประมาณ 24 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 270 ล้านคน
ทั้งนี้ที่ผ่านมา อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก มีแนวโน้มที่จะบล็อกหรือขู่ว่าจะบล็อกเว็บไซต์ยอดนิยมอยู่แล้ว
ในปี 2022 ทางการกล่าวว่าจะปิดกั้นเว็บไซต์และแพลตฟอร์มยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็น เน็ตฟลิกซ์, กูเกิล, เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ หากไม่ส่งรายละเอียดเนื้อหาที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มให้กับกระทรวงกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ
ก่อนหน้านี้ เน็ตฟลิกซ์เคยถูกบล็อกโดยบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียหลังจากเปิดตัวในปี 2016 เนื่องจากกลัวว่าจะมี “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม” รวมถึงภาพอนาจาร และถูกบล็อกจนถึงกลางปี 2020 ขณะที่ TikTok แพลตฟอร์มคอนเทนต์วิดีโอยอดนิยมก็เคยถูกทางการบล็อกช่วงสั้น ๆ ในปี 2018
กาตรา ปรียันดีตา นักวิเคราะห์นโยบายไซเบอร์จากสถาบันนโยบายยุทธศาสตร์ออสเตรเลีย ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “โดยทั่วไปแล้ว กระทรวงฯ จะบล็อกเว็บไซต์ที่ถือว่าเป็นการล่วงละเมิด อาชญากร หรือเป็นอันตรายต่อความเรียบร้อยในสังคม”
เขาเสริมว่า “สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงเนื้อหาลามกอนาจาร เว็บไซต์ที่ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เว็บไซต์ที่ยุยงให้เกิดความเกลียดชังหรือเต็มไปด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ”
ปรียันดีตาบอกอีกว่า “เนื่องจากทวิตเตอร์สามารถใช้ได้อย่างอิสระในอินโดนีเซีย ผมสงสัยว่าการลบ X.com ออกจากรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกแบนจะเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ตราบใดที่ทวิตเตอร์สามารถแสดงให้เห็นว่า ชื่อโดเมนนั้นเชื่อมไปยังทวิตเตอร์อย่างแท้จริง”
ด้าน อาริโบโว ซัสมีโต ผู้ร่วมก่อตั้ง MAFINDO ซึ่งเป็นกลุ่มตรวจสอบข้อเท็จจริง กล่าวว่า เขาเชื่อว่า X.com ถูกบล็อกเนื่องจากชื่อมีความหมายเชิงลบ “ผมเดาว่าชื่อนี้คงไม่ห่างไกลจาก XXX มากนัก”
อย่างไรก็ตาม ซัสมีโตกล่าวว่า การเซ็นเซอร์เว็บไซต์ออนไลน์ไม่ได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเสมอไป เนื่องจากผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงเครื่องกีดขวางได้อย่างง่ายดาย
“สิ่งนี้มาพร้อมกับความท้าทายของมันเอง ตัวอย่างเช่น หากโดเมนหรือ URL ถูกบล็อก เจ้าของเว็บไซต์จะเปลี่ยนที่อยู่ หากพวกเขาถูกบล็อกอีกครั้ง พวกเขาก็จะเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้ง” เขากล่าว
เรียบเรียงจาก Al Jazeeraคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024
ภาพจาก AFP